การเมืองของประเทศลาว
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีระบบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์(ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศคือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มปกครองในระบอบสังคมนิยม เมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 - ประธานประเทศคนแรก : เสด็จเจ้าสุพานุวง (หรือ ท่าน สุพานุวง ตามระบอบสังคมนิยม) - นายกรัฐมนตรีคนแรก : ท่าน ไกสอน พมวิหาน
* พรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดผูกขาดการปกครองประเทศ ตามระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ พรรคฯ ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาประเทศในการประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนมีนาคม 2549 ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
o ปี 2563 ต้องพ้นจากสถานะการเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ต้องมีความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจต้องขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากปัจจุบัน 3 เท่าตัว o ปี 2549-2553 เป็นช่วงของการเสริมสร้างพื้นฐานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้สำหรับปี 2563 เศรษฐกิจต้องมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ยุติการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย แก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นไป เตรียมพัฒนาบุคลากรรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ประชากรมีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
• ลาวดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับทุกประเทศ บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยไม่แบ่งแยกลัทธิอุดมการณ์เพื่อขอรับการสนับสนุนและความ ช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายตามที่พรรคฯ กำหนดไว้ ทั้งนี้ ลาวให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก ได้แก่ เวียดนาม จีน พม่า กัมพูชาและไทย รองลงมาเป็นประเทศร่วมอุดมการณ์ ได้แก่ รัสเซีย เกาหลีเหนือ และคิวบา อย่างไรก็ดี แม้ว่าลาวจะพยายามดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ให้สมดุลเพื่อลดการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นหลัก แต่ข้อจำกัดของลาวที่ไม่มีทางออกทางทะเลและการด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ กอปรกับเวียดนามและจีนต้องการคงอิทธิพลในภูมิภาคอินโดจีนไว้ จึงทำให้ลาวมีความสัมพันธ์พิเศษกับเวียดนามและจีนทั้งด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลให้ประเทศทั้งสองสามารถขยายอิทธิพลในลาวได้ในระยะต่อไป
* ในปี 2548 สถานการณ์ภายในประเทศโดยรวมมีความสงบเรียบร้อย แม้ว่ายังคงมีรายงานการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลตามแขวงต่างๆ แต่ทางการลาวสามารถควบคุมสถานการณ์ได้โดยได้จัดวางกองกำลังลาดตระเวนในพื้นที่ต่างๆ อย่างเข้มงวดทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2549 ยุบเขตการปกครองพิเศษไชสมบูนซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคง โดยโอนพื้นที่การปกครองไปขึ้นกับแขวงเชียงขวางและแขวงเวียงจันทน์ เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้นแล้ว
เมื่อวันที่ 18-21 มีนาคม 2549 ที่ประชุมสมัชชาพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ครั้งที่ 8 มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก พลโท จูมมะลี ไชยะสอน รองประธานประเทศ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารศูนย์กลางพรรค (Central Committee) และสมาชิกคณะกรมการเมือง (Politburo) ลำดับที่ 1 แทนพลเอกคำไต สีพันดอน อดีตประธานประเทศที่สละตำแหน่งในพรรคทุกตำแหน่ง และได้แต่งตั้งคณะบริหารพรรค ได้แก่ คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรค จำนวน 55 คน คณะกรมการเมือง จำนวน 11 คน คณะเลขาธิการศูนย์กลางพรรค จำนวน 7 คน และคณะกรรมการตรวจตราพรรคฯ ระดับศูนย์กลางพรรคฯ จำนวน 3 คน รวมทั้ง ได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศระยะสั้นปี 2553 และระยะยาวปี 2563 เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 สปป.ลาวได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 โดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวได้คัดเลือกส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง จำนวน 175 คนเพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ จำนวน 115 ที่นั่งใน 17 เขตเลือกตั้ง (16 แขวงและนครหลวงเวียงจันทน์) ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละร้อย สมาชิกสภาแห่งชาติที่ได้รับเลือกจำนวน 115 คน เป็นสมาชิกพรรคประชาชนปฏิวัติลาว จำนวน 113 ที่นั่ง และผู้สมัครอิสระจำนวน 2 ที่นั่ง แบ่งเป็นชนเผ่าลาวลุ่ม 92 คน ลาวเทิง 17 คน และลาวสูง 6 คน
การประชุมสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 17 มิถุนายน 2549 โดยในการประชุมวันแรก ที่ประชุมได้รับรองผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศ รองประธานประเทศ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมทั้งได้มีการปรับ/จัดตั้งกระทรวงด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปรับกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมไปรวมกับกระทรวงการค้า เป็น “กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า” และจัดตั้ง “กระทรวงพลังงานและบ่อแร่” ขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และนำศักยภาพด้านพลังงาน (พลังงานน้ำและแร่ธาตุ) มาใช้ในการพัฒนาประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สถาบันการเมืองที่สำคัญ
1. พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
2. สภารัฐมนตรี (สภาแห่งชาติแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี)
3. สภาแห่งชาติ (ประชาชนเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจากผู้ที่พรรคฯ เสนอ)จะมีการเลือกตั้งเอาสมาชิกสภาแห่งชาติชุดที่ 6 ในทุกแขวงทั่วประเทศ ในวันที่ 30 เมษายน 2549 และเปิดประชุมสภาครั้งปฐมฤกษ์ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2549
4. แนวลาวสร้างชาติ
5. องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว(สหพันธ์เยาวชน) สหพันธ์แม่หญิงลาว(สมาคมสตรี) กรรมบาลลาว(สหพันธ์กรรมกร) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
* พรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดผูกขาดการปกครองประเทศ ตามระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ พรรคฯ ได้กำหนดนโยบายและเป้าหมายการพัฒนาประเทศในการประชุมสมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนมีนาคม 2549 ให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
o ปี 2563 ต้องพ้นจากสถานะการเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ต้องมีความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจต้องขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากปัจจุบัน 3 เท่าตัว o ปี 2549-2553 เป็นช่วงของการเสริมสร้างพื้นฐานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่กำหนดไว้สำหรับปี 2563 เศรษฐกิจต้องมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ยุติการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย แก้ไขปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นไป เตรียมพัฒนาบุคลากรรองรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ประชากรมีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี
• ลาวดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสร้างเสริมความสัมพันธ์แบบรอบด้านกับทุกประเทศ บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยไม่แบ่งแยกลัทธิอุดมการณ์เพื่อขอรับการสนับสนุนและความ ช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายตามที่พรรคฯ กำหนดไว้ ทั้งนี้ ลาวให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นลำดับแรก ได้แก่ เวียดนาม จีน พม่า กัมพูชาและไทย รองลงมาเป็นประเทศร่วมอุดมการณ์ ได้แก่ รัสเซีย เกาหลีเหนือ และคิวบา อย่างไรก็ดี แม้ว่าลาวจะพยายามดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ให้สมดุลเพื่อลดการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นหลัก แต่ข้อจำกัดของลาวที่ไม่มีทางออกทางทะเลและการด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจ กอปรกับเวียดนามและจีนต้องการคงอิทธิพลในภูมิภาคอินโดจีนไว้ จึงทำให้ลาวมีความสัมพันธ์พิเศษกับเวียดนามและจีนทั้งด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลให้ประเทศทั้งสองสามารถขยายอิทธิพลในลาวได้ในระยะต่อไป
* ในปี 2548 สถานการณ์ภายในประเทศโดยรวมมีความสงบเรียบร้อย แม้ว่ายังคงมีรายงานการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลตามแขวงต่างๆ แต่ทางการลาวสามารถควบคุมสถานการณ์ได้โดยได้จัดวางกองกำลังลาดตระเวนในพื้นที่ต่างๆ อย่างเข้มงวดทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรง นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2549 ยุบเขตการปกครองพิเศษไชสมบูนซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคง โดยโอนพื้นที่การปกครองไปขึ้นกับแขวงเชียงขวางและแขวงเวียงจันทน์ เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความมั่นคงปลอดภัยมากขึ้นแล้ว
เมื่อวันที่ 18-21 มีนาคม 2549 ที่ประชุมสมัชชาพรรคประชาชนปฏิวัติลาว ครั้งที่ 8 มีมติเป็นเอกฉันท์เลือก พลโท จูมมะลี ไชยะสอน รองประธานประเทศ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่คณะบริหารศูนย์กลางพรรค (Central Committee) และสมาชิกคณะกรมการเมือง (Politburo) ลำดับที่ 1 แทนพลเอกคำไต สีพันดอน อดีตประธานประเทศที่สละตำแหน่งในพรรคทุกตำแหน่ง และได้แต่งตั้งคณะบริหารพรรค ได้แก่ คณะบริหารงานศูนย์กลางพรรค จำนวน 55 คน คณะกรมการเมือง จำนวน 11 คน คณะเลขาธิการศูนย์กลางพรรค จำนวน 7 คน และคณะกรรมการตรวจตราพรรคฯ ระดับศูนย์กลางพรรคฯ จำนวน 3 คน รวมทั้ง ได้กำหนดแผนพัฒนาประเทศระยะสั้นปี 2553 และระยะยาวปี 2563 เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 สปป.ลาวได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 โดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวได้คัดเลือกส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง จำนวน 175 คนเพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ จำนวน 115 ที่นั่งใน 17 เขตเลือกตั้ง (16 แขวงและนครหลวงเวียงจันทน์) ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละร้อย สมาชิกสภาแห่งชาติที่ได้รับเลือกจำนวน 115 คน เป็นสมาชิกพรรคประชาชนปฏิวัติลาว จำนวน 113 ที่นั่ง และผู้สมัครอิสระจำนวน 2 ที่นั่ง แบ่งเป็นชนเผ่าลาวลุ่ม 92 คน ลาวเทิง 17 คน และลาวสูง 6 คน
การประชุมสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 ครั้งที่ 1 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 17 มิถุนายน 2549 โดยในการประชุมวันแรก ที่ประชุมได้รับรองผู้ดำรงตำแหน่งประธานประเทศ รองประธานประเทศ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ รวมทั้งได้มีการปรับ/จัดตั้งกระทรวงด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ปรับกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมไปรวมกับกระทรวงการค้า เป็น “กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า” และจัดตั้ง “กระทรวงพลังงานและบ่อแร่” ขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ และนำศักยภาพด้านพลังงาน (พลังงานน้ำและแร่ธาตุ) มาใช้ในการพัฒนาประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
สถาบันการเมืองที่สำคัญ
1. พรรคประชาชนปฏิวัติลาว
2. สภารัฐมนตรี (สภาแห่งชาติแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี)
3. สภาแห่งชาติ (ประชาชนเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจากผู้ที่พรรคฯ เสนอ)จะมีการเลือกตั้งเอาสมาชิกสภาแห่งชาติชุดที่ 6 ในทุกแขวงทั่วประเทศ ในวันที่ 30 เมษายน 2549 และเปิดประชุมสภาครั้งปฐมฤกษ์ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2549
4. แนวลาวสร้างชาติ
5. องค์กรจัดตั้ง เช่น สหพันธ์วัยหนุ่มลาว(สหพันธ์เยาวชน) สหพันธ์แม่หญิงลาว(สมาคมสตรี) กรรมบาลลาว(สหพันธ์กรรมกร) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
Labels: การเมือง
posted by SEAGAMES 2009 @ 7:42 AM,